
ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ดี ??
ทุนชำระคืออะไร ??
เป็นคำถามที่พบได้บ่อยในผู้ประกอบการจะมีการจัดตั้งนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการมักจะมีข้อสงสัยคือเรื่องของทุน โดยทุนจะแบ่งเป็น 2 ประเภททุนจดทะเบียนและทุนที่ชำระ
ทุนจดทะเบียนคืออะไร
ทุนจดทะเบียน คือทุนที่แจ้งต่อทางกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า ซึ่งจะบ่งบอกถึง สถานะการจำกัดความรับผิด ในกรณีที่กิจการมีความเสียหายเกิดขึ้นกิจการจะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนของทุนจดทะเบียน
ทุนชําระคืออะไร
ทุนที่ชำระ คือ ทุน ที่ทางผู้ถือหุ้นได้นำมา ใช้เพื่อ ริเริ่มในการประกอบกิจการ โดยทุนชำระขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนเช่นมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาททุนชำระขั้นต่ำสุดคือจับ 250,000 บาท ซึ่งในส่วนของการจำกัดความรับผิด ผู้ถือหุ้น จะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนที่ ทุนที่ยังไม่ชำระแล้วเท่านั้น
ในส่วนของทุนชำระแล้ว ทำกิจการสามารถนำทุนส่วนนี้ไปใช้ในการ ดำเนินกิจการทางธุรกิจได้เลยไม่ว่าจะเป็นการนำไปซื้ออุปกรณ์สำนักงานต่างๆในการผลิตหรือบริการค่าจ้างพนักงาน
ควรจะมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่
ต่ำสุด ที่กฎหมายกำหนดไว้คือผู้ถือหุ้นจะลงเงินได้ต่ำสุดคือ 5 บาท ดังนั้นบริษัท กำหนดให้มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 ท่านทุนจดทะเบียนที่ต่ำสุดคือ 15 บาท
แต่ทั้งนี้ทุนจดทะเบียนและทุนชำระเป็นตัวบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของกิจการดังนั้นจึงไม่ ควรมีทุนจดทะเบียนที่ต่ำจนเกินไปเพราะนอกจากจะขาดความน่าเชื่อถือแล้วการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ก็จะทำได้ยาก โดยทุนจดทะเบียนที่นิยมกันมาจากมีมูลค่าหลักแสนจนถึงหลักล้านบาทซึ่งนอกจากจะทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือแล้วยังมี ความคล่องในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ อีกทั้งบางกิจการ จะกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้สำหรับลูกค้าด้วย ดังนั้นจึงจด จดทะเบียนจึงมีหลายปัจจัยที่แต่ละกิจการ จะมีจุดที่เหมาะสมแตกต่างกัน
ทุนจดทะเบียนมีผลต่ออัตราภาษี
ธุรกิจ sme จะได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไร สุทธิ 300,000 บาทแรก และ 15% สำหรับกำไรตั้งแต่ 300,000-3,000,000 บาท จากนั้นจะเสียภาษีใรอัตรา 20% ซึ่งการที่จะเป็นธุรกิจ sme ได้นั้นจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ถ้าหากเกินจะต้องเสียภาษีในอัตราทั่วไปคือ 20% ตั้งแต่กำไรสุทธิ 1 บาทแรก

หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องทุนจดทะเบียนและทุนชำระ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจดทะเบียนนิติบุคคลรวมไปถึงการจัดทำบัญชีภาษีจนถึง การปิดงบการเงินและการตรวจสอบบัญชี สามารถปรึกษาได้ฟรี
Pingback: 7 คำถามจากผู้ประกอบการ ก่อนการจดทะเบียนบริษัท PM accounting