
ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ ต้องรู้ !! รายได้ ที่ต้องยื่น “ภาษีเงินได้”
ฟรีแลนซ์หรืออาชีพอิสระ ก็ต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” เพราะ “ผู้ที่มีเงินได้” ทุกคนจำมีหน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยตามกฎหมาย ผู้ที่มีเงินได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 60,000 บาทต่อปี จำเป็นต้องยื่นภาษีทุกคน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ตามมาตรา 40 โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสำหรับปีภาษีนั้น
บุคคลธรรมดา มีดังนี้
1.บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
3.คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
4.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
5.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี
1.เงินสดหรือตราสารที่มีค่าเป็นเงินสด
2.ทรัพย์สินที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวนได้
3.สิทธิ์ประโยชน์อื่นใดซึ่งอาจคิดคำนวนได้
4.เงินภาษีอากรที่ผู้อื่นออกให้แทน
5.เครดิตภาษีเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไร
เกณฑ์เงินได้พึงประเมิน
มาตรา 40 (1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ฯลฯ
มาตรา 40 (2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ฯลฯ
มาตรา 40 (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
มาตรา 40 (4) เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ฯลฯ *ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้
มาตรา 40 (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
มาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
มาตรา 40 (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
จากนั้นจึงมาคำนวนอัตราภาษี
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ |
เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น |
อัตราภาษี |
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
0 – 150,000 |
150,000 |
5 |
ยกเว้น* |
0 |
เกิน 150,000 – 300,000 |
150,000 |
5 |
7,500 |
7,500 |
เกิน 300,000 – 500,000 |
200,000 |
10 |
20,000 |
27,500 |
เกิน 500,000 – 750,000 |
250,000 |
15 |
37,500 |
65,000 |
เกิน 750,000 – 1,000,000 |
250,000 |
20 |
50,000 |
115,000 |
เกิน 1,000,000 – 2,000,000 |
1,000,000 |
25 |
250,000 |
365,000 |
เกิน 2,000,000 – 5,000,000 |
3,000,000 |
30 |
900,000 |
1,265,000 |
เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป |
|
35 |
|
|
ค่าลดหย่อนต่างๆ
กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว |
จำนวน |
|
1 |
ค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับคนมีเงินได้ทุกคน |
60,000 บาท |
2 |
ค่าลดหย่อนคู่สมรส |
60,000 บาท |
3 |
ค่าลดหย่อนบุตร ต่อ 1 คน |
30,000 บาท |
4 |
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร |
ไม่เกินปีละ 60,000 บาท |
5 |
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ และคู่สมรสอายุ 60 ปีขึ้นไป |
คนละ 30,000 บาท |
6 |
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ |
คนละ 60,000 บาท |
กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน |
จำนวน |
|
1 |
ประกันสังคม |
ไม่เกิน 9,000 บาท |
2 |
เบี้ยประกันชีวิต |
ไม่เกิน 100,000 บาท |
3 |
เบี้ยประกันสุขภาพ |
ไม่เกิน 15,000 บาท |
4 |
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ |
ไม่เกิน 15,000 บาท |
5 |
เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส |
ไม่เกิน 10,000 บาท |
6 |
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
ไม่เกิน 10,000 บาท |
7 |
เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน |
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท |
8 |
เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) |
ไม่เกิน 13,200 บาท |
9 |
เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ |
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท |
10 |
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) |
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท |
11 |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) |
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท |
กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์ |
จำนวน |
|
1 |
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย |
ไม่เกิน 100,000 บาท |
2 |
ซื้อบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2558 |
20% ของค่าบ้าน ลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (ปีละ 4%) |
3 |
ซื้อบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2562 |
ไม่เกิน 200,000 บาท |
กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค |
จำนวน |
|
1 |
เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ |
หักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน |
2 |
เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ |
หักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน |
3 |
กลุ่มเงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล |
ได้จำนวนตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรก |
4 |
เงินบริจาคให้พรรคการเมือง |
สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท |
กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เช่น
ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ |
จำนวน |
|
1 |
สินค้าในกลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้าการศึกษาและกีฬา หนังสือ สินค้า OTOP |
ไม่เกิน 15,000 บาทต่อ 1 กลุ่ม |
2 |
ท่องเที่ยวไทย > เที่ยวเมืองหลัก |
15,000 บาท |