ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร ?? จำเป็นต้องจดไหม ??

vat ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ภพ30
vat ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ ภาษีขาย ภพ.30

ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในประเทศไทยเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มแบบบริโภค ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยจัดเก็บที่อัตรา 7% โดยจัดเก็บจากผู้บริโภคคนสุดท้าย ซึ่งผู้บริโภคขั้นก่อนหน้าจะเป็นผู้นำส่งภาษีผ่านแบบ ภพ.30 แต่หากเป็นการบริการจากต่างประเทศจะยื่นแบบ ภพ.36 (เช่น การจ่ายโฆษณาให้ facebook หรือ google)

 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 8 ล้านบาทต่อปี
  2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น(คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535ฯ)
  3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่ชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
  4. การขายปุ๋ย
  5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
  6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
  7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  8. การนำเข้าสินค้าตาม ถึง 7.
  9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
  11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
  12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
  13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
  14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
  15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
  16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
  17. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  18. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
  19. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
  20. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
  21. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
  22. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
  23. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
  24. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  25. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
  26. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภา-กาชาดไทย
  27. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้
  28. การให้บริการสีข้าว

** ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการตาม 1. ถึง 7. ดังกล่าว จะเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้

การขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้ 2 วิธึ

  1. ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที https://www.rd.go.th
  2. ยื่นแบบคำขอด้วยเอกสารตัวจริง ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ (สรรพากรพื้นที่)

โดยยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ :ซึ่งเอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้

  1. แบบคำขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ พร้อมลายเซ็นผู้มีอำนาจลงนาม
    หลักฐานแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการได้แก่  
    2.1 สัญญาเช่าอาคารที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการปิดอากรแสตมป์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยิยอมให้ใช้สถานที่เป็นสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของให้ใช้โดยไม่ได้ค่าตอบแทน)
    2.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
    2.3 สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม เช่น การเป็นเจ้าบ้าน สัญญาซื้อขาย คำขอเลขที่บ้าน ใบโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าช่วง
    2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่า)
    3. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
    4. หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
    5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม
    6. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์

เมื่อได้รับการอนุมัติให้เป็นกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งยื่นแบบภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

2 thoughts on “ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร ?? จำเป็นต้องจดไหม ??

  1. Pingback: 5 สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องดูภายหลังการจดทะเบียนบริษัท - PM accounting

  2. Pingback: 5 สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องดูภายหลังการจดทะเบียนบริษัท - PM accounting

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *