การคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 1

ทีมงานทำบัญชี ปิดงบการเงิน ตรวจสอบบัญชี มืออาชีพ ที่ปรึกษา ผังบัญชี ขายของออนไลน์ การคำนวน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 1

สำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง ต้องมีการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายค่าจ้างรายวันหรือรายเดือนให้แก่ลูกจ้าง ตามมาตรา 40(1) เพื่อนำส่งสรรพากรภายใน 7 วันหรือ 15 วัน สำหรับการยื่นผ่านอินเทอร์เนทของเดือนถัดไป ในแบบ ภงด.1

โดยมีวิธีการคำนวนดังนี้

1.ถ้าได้เงินเดือนตามมาตร 40 (1) เช่นได้เงินเดือนคิดคำนวนรายได้ทั้งปี แล้วนำมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ

2.หักค่าลดหย่อนต่างๆ ซึ่งมี 14 ประเภท ดังนี้

  • 1)ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ร้อยละ 60 ไม่เกิน 100000 บาท
  • 2)หัก เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนเกิน 10000 บาท
  • 3)หัก รายการลดหย่อน ผู้มีเงินได้
  • 4)หัก รายการลดหย่อน บุตร
  • 5)หัก รายการลดหย่อน อุปการะ เลี้ยงดู บิดา มารดา
  • 6)หัก รายการลดหย่อน เบี้ยประกันสุขภาพบิดา มารดา
  • 7)หัก รายการลดหย่อน อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
  • 8)หัก รายการลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิต
  • 9)หัก รายการลดหย่อน เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนไม่เกิน 10000 บาท
  • 10)หัก รายการลดหย่อน ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
  • 11)หัก รายการลดหย่อน ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม SSF
  • 12)หัก รายการลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ ที่อยู่อาศัย
  • 13)หัก รายการลดหย่อน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • 14)หัก รายการลดหย่อน ค่าการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ

3.นำรายได้สุทธิมาคำนวนภาษีทั้งปี โดยเทียบจากตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่

เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น

อัตราภาษี

ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้

ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น

0-150,000

 150,000

 5

 ยกเว้น*

 0

 เกิน 150,000   –     300,000

 150,000

 5

 7,500

 7,500

 เกิน 300,000   –     500,000

 200,000

 10

 20,000

 27,500

 เกิน 500,000   –     750,000

 250,000

 15

 37,500

 65,000

 เกิน 750,000   –  1,000,000

 250,000

 20

 50,000

 115,000

 เกิน 1,000,000  –  2,000,000

 1,000,000

 25

 250,000

 365,000

 เกิน 2,000,000  –  5,000,000

 3,000,000

 30

 900,000

 1,265,000

 เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป

 

 35

 

 

4. นำจำนวนภาษีที่คำนวนได้มาหารด้วย 12 จะเป็นยอดจำนวนเงินที่หักใน ภงด 1

ตัวอย่าง

นาย ก สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นนาย ก สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 100,000 บาท

สมมติว่านาย ก ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น นอกจากค่าลดหย่อนส่วนตัว ซึ่งตามกฎหมายค่าลดหย่อนส่วนตัวตามกฎหมายที่นำมาหักได้คือ 60,000 บาท

หลังจากนั้นต้องคำนวณเงินได้สุทธิของนาย ก ดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

= 600,000 – 100,000 – 60,000 = 440,000 บาท

จะเห็นได้ว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งปีของนาย ก นั้นอยู่ที่ 21,500 บาท ดังนั้นหากต้องการคำนวณหาภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายรายเดือนต้องนำมาหาร 12 = 21,500 / 12 = 1,792 บาท