เมื่อไหร่ควรเปิดบริษัท

รับจดทะเบียนบริษีท ภาษี ปิดงบการเงิน รายเดือน รายปี ราคาถูก

ผู้ประกอบการมักมีคำถามว่า เมื่อไหร่ถึงควรจะเริ่มจดทะเบียนนิติบุคคล บทความนี้มีคำตอบที่นำพาไปสู่การตอบข้อสงสัยว่าเราควรจดทะเบียนนิติบุคคลรึยัง

  1. เมื่อรายได้ของเรามากกว่า 1,800,000 บาท

โดยอัตราภาษีถ้าเป็นแบบบุคคลธรรมดา จะเสียภาษี 51,500 บาท (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60 % และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท) แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษี (คิดอัตรากำไรสุทธิที่ 20%)  36,000 บาท (ต้องคำนึงค่าจัดทำงบการเงินซึ่งสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้) อีกทั้งรายได้ที่เกิน 1,800,000 บาท ทำให้เราต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การเป็นนิติบุคคลจะทำให้ลดโอกาสการเกิดเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ และการออกใบกำกับภาษีคู่ค้าจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า

  1. เมื่ออัตรากำไรสุทธิน้อยกว่าร้อยละ 40

การเสียภาษีแบบเหมาจ่ายของบุคคลธรรมดาจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ร้อยละ 60 ถึงแม้กิจการขาดทุนก็ยังคง ต้องเสียภาษีอยู่ดี ในขณะที่การเสียภาษีของนิติบุคคลคำนวนจาก กำไร-ขาดทุนมาจากผลประกอบการจริง ในส่วนของขาดทุนเก็บไว้ใช้ลดภาษีในปีดถัดๆไปได้ถึง 5 ปี อีกทั้งอัตราภาษีสูงสุดสำหรับบุคคลธรรมดามีขั้นสูงสุด ร้อยละ 35 แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลจะสูงสุด ที่ 20

3.สิทธิพิเศษด้านอื่น

รัฐสนับสนุนทั้งเงินทุนความรู้ให้กับผู้ประกอบการ รวมไปถึงเงินทุนและสินเชื่อต่างๆ หน่วยงานต่างๆมักจะให้กับกลุ่มนิติบุคคล โดยเฉพาะกับ SME มากกว่าที่จะให้กับบุคคลธรรมดา

  1. การขยายตลาด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางในการค้าขายกับต่างประเทศไทยเป็นช่องทางนึงที่สำคัญในหลายธุรกิจ คู่ค้าที่อยู่ต่างประเทศจะดูถึงการมีตัวตนและความน่าเชื่อถือของเรา ซึ่งอาจจะมาจากการเรียกเอกสารสำคัญต่างๆที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้ออกให้ รวมไปถึงการทำธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงินที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนใหญ่จะจำกัดให้เฉพาะนิติบุคคล

  1. จำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สิน

การเป็นนิติบุคคลนั้นเป็นการแยกระหว่างเงินของธุรกิจ และเงินส่วนตัวออกจากกัน การเป็นนิติบุคคลจะจำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัทตามมูลค่าหุ้นของตัวเองที่ลงไปในบริษัท คือ ถ้าบริษัทเกิดความเสียหายทางธุรกิจร้ายแรงระดับต้องล้มละลาย เราซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็จะสูญเสียสินทรัพย์ไปแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น ส่วนตัวจะไม่ล้มละลายตามบริษัทไปด้วย