
7 คำถามที่พบได้บ่อยจากผู้ประกอบการ ก่อนการจดทะเบียนบริษัท
จากประสบการณ์ PM Accounting ได้รวบรวมเอาไว้ ดังนี้
ข้อ 1 จดบริษัทมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นจะมีในส่วนของค่าธรรมเนียมของกรมพัฒนาธุรกิจและการค้าซึ่งปัจจุบันการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านทางออนไลน์จะมีค่าธรรมเนียมลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัจจุบันจะมีค่าธรรมเนียมและจัดส่งเอกสาร 3,100 บาท และมีค่าคัดหนังสือรับรอง และ คัดสำเนา 400 บาทรวมค่าธรรมเนียม 3,500 บาท
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมจะมี
1 ข้อมูลของบัตรประชาชนผู้ถือหุ้น 3 ท่านและกรรมการ
2 ข้อมูลทะเบียนบ้านของที่ตั้งสำนักงานและแผนที่
3 ทุนจดทะเบียน สิ่งที่เปลี่ยนเป็นทุน(แรงงานหรือทรัพย์สิน) และทุนชำระ ที่เหมาะสม
4 อำนาจกรรมการและอาจมีตราประทับ
5 วัตถุประสงค์ของกิจการ
6 บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหุ้นและกรรมการพร้อมทั้งอุปกรณ์ที่สามารถถ่ายรูปและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
ข้อ 2 ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ดี ต้องชำระเต็มหรือไม่
ผู้ถือหุ้นสามารถชำระทุนได้ต่ำที่สุดมูลค่า 5 บาทและการมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนบริษัทจะมีทุนชำระน้อยที่สุดที่กฎหมายกำหนดคือ 15 บาท ทั้งนี้ ทุนจดทะเบียนและทุนชำระของบริษัทจะเป็นการบอกถึงการจำกัดความรับผิดและความน่าเชื่อถือของบริษัทฉะนั้นจึงควรมีทุนจดทะเบียนที่เหมาะสมกับธุรกิจและจำนวนทุนที่มีอยู่ โดยทุนชำระที่ต่ำสุดที่สามารถชำระได้คือ 25% ของทุนจดทะเบียน
สามารถติดตามรายละเอียดได้จากบทความข้างล่าง
ทุนจดทะเบียน และทุนชำระคืออะไร
ข้อ 3 เสียภาษีอย่างไรบ้าง
สำหรับการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลจะเป็นการคำนวณจากกำไรสุทธิโดยจะแบ่งเป็นธุรกิจ 2 ขนาด 1 ธุรกิจ sme จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงไม่เกิน 300,000 บาทในส่วนที่เกิน 300,000 บาทจะเสียภาษีในอัตรา 15% ในส่วนของกำไรสุทธิที่ไม่เกิน 3 ล้านบาทและส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทจะเสียในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์

หากธุรกิจเป็นอัตราทั่วไปจะเสียภาษีอัตรา 20% ตั้งแต่สุทธิ 1 บาทแรก
ข้อ 4 จำเป็นไหมต้องมีตราประทับหรือไม่
นิติบุคคลไม่จำเป็นต้องมีตราประทับแต่การมีตราประทับจะทำให้สามารถแยกอำนาจของบริษัทและบุคคลธรรมดาออกจากกันได้เนื่องจาก บริษัท จะจำกัดความรับผิดเฉพาะในส่วนของทุนจดทะเบียนหากแต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจะไม่จำกัดความรับผิด ฉะนั้นตราประทับจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แยกอำนาจของบริษัทและบุคคลธรรมดาออกจากกันได้
ข้อ 5 จะเขียนวัตถุประสงค์อย่างไร
การเขียนวัตถุประสงค์ให้เขียนให้ครอบคลุมถึง ความเป็นไปได้ของกิจการที่ทำอยู่รวมไปถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นการผลิตงานหัตถกรรมการที่เกี่ยวข้องกับไม้อาจจะเขียนเผื่อไปถึงการนำเข้าและส่งออกรวมไปถึงการจัดจำหน่าย งานหัตถการอื่นๆด้วยและควรจะมีถึงในเรื่องของการออกแบบการจำหน่ายวัสดุที่เกี่ยวข้องกับงานราชการ
ข้อ 6 จดบริษัทแล้วต้องทำอะไรบ้าง
ดำเนินกิจการให้เต็มที่และพยายามจัดเก็บเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้เอกสารเหล่านี้เป็นหลักฐานในการสะท้อนถึงผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ ผ่านกระบวนการการทำบัญชี ที่ถูกต้องจากนั้นจึงนำส่งเอกสารให้หน่วยงานราชการ
สามารถติดตามรายละเอียดได้จากบทความข้างล่าง
5 สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้ภายหลังการจดทะเบียนบริษัท
ข้อ 7 การทำบัญชียุ่งยากไหม จะเริ่มต้นอย่างไรดี
สำหรับผู้ประกอบการสามารถศึกษาการทำบัญชีได้จากสื่อเรียนรู้ต่างๆซึ่งในปัจจุบันมีสื่อให้เลือกมากมายหรือผู้ประกอบการอาจจะจ้างพนักงานทำบัญชีที่มีประสบการณ์ในการเข้ามาร่วมงานหรืออาจจะใช้บริการของสำนักงานบัญชีที่มีความชำนาญในด้านบัญชี เพื่อมาดูแลให้ผู้ประกอบการก็ได้
ซึ่งทาง PM accounting ให้บริการการทำบัญชีอย่างครบวงจรตั้งแต่การจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทต่างๆไปจนถึงการปิดบัญชีและตรวจสอบบัญชีหากสนใจสามารถปรึกษาได้ฟรี